วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

บทที่ 4 องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization : Lo)





องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization : Lo)




“Organizations learn only through individual who learns. Individual learning does not guarantee organizational learning, but without it no organizational learning occurs.” Peter Senge (1990)




➤วินัย 5 ประการสำหรับองค์การแห่งการเรียนรู้
     1. การเรียนรู้ของสมาชิกในองค์กร (Personal Mastery)
คือ ลักษณะการเรียนรู้ของคนในองค์การซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงการเรียนรู้ขององค์การได้สมาชิกขององค์การที่เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้นั้น จะมีลักษณะสนใจและใฝ่หาที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอมีความปรารถนาที่จะเรียนรู้เพื่อเพิ่ม ศักยภาพ ของตน มุ่งสู่จุดหมาย และความสำเร็จที่ได้กำหนดไว้

     2. ความมีสติ (Mental Model)
คือ แบบแผนทางจิตสำนึกของคนในองค์การซึ่งจะต้องสะท้อนถึงพฤติกรรมของคนในองค์การองค์การแห่งการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้เมื่อ สมาชิกในองค์การมีแบบแผนทางจิตสำนึกหรือความมีสติที่เอื้อต่อการสะท้อนภาพที่ถูกต้องชัดเจน และมีการจำแนกแยกแยะโดยมุ่งหวังที่จะปรับปรุงความถูกต้องในการมองโลกและปรกกฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นรวมทั้งการทำความเข้าใจในวิธีการที่จะสร้างความกระจ่างชัด เพื่อการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องหรือมีวิธีการที่จะตอบสนองความเปลี่ยนแปลงที่ปรากฏอยู่ได้อย่างเหมาะสม มี Mental Ability ไม่ผันแปรเรรวนหรือท้อถอยเมื่อเผชิญกับวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ซึ่งการที่จะปรับ Mental model ของคนในองค์การให้เป็นไปในทางที่ถูกต้องอาจจะใช้หลักกการของศาสนาพุทธ ในการฝึกสติรักษาศีล และดำรงตนอยู่ในธรรมะ

     3. การมีวิสัยทัศน์ร่วมกันของคนในองค์การ (Shared Vision)
คือ การมีวิสัยทัศน์ร่วมกันของคนทั้งองค์การองค์การแห่งการเรียนรู้จะต้องเป็นองค์การที่สมาชิกทุกคนได้รับการ พัฒนาวิสัยทัศน์ของตนให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์รวมขององค์การซึ่งจะสนับสนุนให้เกิดการรวมพลังของสมาชิกที่มีความคาดหวังต่อความเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าต่อไป ภายใต้จุดมุ่งหมายเดียวกันของคนทั้งองค์การ

     4. การเรียนรู้เป็นทีม ( Team Learning )
คือ การเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกในองค์การโดยอาศัยความรู้และความคิดของมวลสมาชิกในการแลกเปลี่ยน และพัฒนาความฉลาดรอบรู้และความสามารถของทีมให้บังเกิดผลยิ่งขึ้น เรียกว่า การอาศัยความสามารถของสมาชิกแต่ละบุคคล องค์การแห่งการเรียนรู้จะเกิดได้เมื่อมีการรวมพลังของกลุ่มต่าง ๆ ภายในองค์การเป็นการรวมตัวของทีมงานที่มีประสิทธิภาพ สูงซึ่งเกิดจากการที่สมาชิกในทีมมีการเรียนรู้ร่วมกันมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์กันอย่างต่อเนื่องและ สม่ำเสมอ

     5. ระบบการคิดของคนในองค์การ (Systems Thinking)
คือ กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ เป็นกระบวนการในการหาความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเห็นแบบแผน เห็นขั้นตอนของการพัฒนา คือ เห็นทั้งป่า และเห็นต้นไม้แต่ละต้นด้วย (See Wholes instead of part, See the forest and the trees)


⇨เครื่องมือการจัดการความรู้ที่เหมาะสมกับความรู้ชัดแจ้ง หรือความรู้เปิดเผย

     การจัดการความรู้มีขั้นตอนที่สำคัญ คือ การกำหนดความรู้ที่ต้องการและการแลกเปลี่ยนความรู้ สำหรับเครื่องมือหรือเทคนิควิธีการที่เหมาะสมกับความรู้ประเภทชัดแจ้งหรือความรู้เปิดเผย (Explicit Knowledge) นั้น
     1. การจัดเก็บความรู้และวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศในรูปเอกสาร เป็นการจัดเก็บความรู้หรือข้อมูลขององค์กรในรูปแบบง่าย ๆ เพื่อความสะดวกในการค้นหาและนำไปใช้ เช่น งานวิจัย ผลการสำรวจ

     2. สมุดหน้าเหลือง (Yellow Page)  สมุดหน้าเหลืองเหมือนกับสมุดโทรศัพท์หน้าเหลืองที่เราคุ้นเคยกันแต่แทนที่เนื้อหาในสมุดจะบันทึกรายละเอียดของคนหรือสถานประกอบการต่าง ๆ สมุดหน้าเหลืองสำหรับการจัดการความรู้นี้จะเป็นการบันทึกแหล่งที่มาของความรู้
     3. ฐานความรู้ ( Knowledge Bases) เป็นการเก็บข้อมูลความรู้ต่างๆ ที่องค์กรมีไว้ในระบบฐานข้อมูลและให้ผู้ต้องการใช้ค้นหาข้อมูลความรู้ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้ได้ตลอดเวลาผ่านระบบอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต หรือระบบอื่น ๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็วและถูกต้อง

⇨เครื่องมือการจัดการความรู้ที่เหมาะสมกับความรู้ฝังลึกหรือความรู้โดยนัย




เป้าหมายหลักของการจัดการความรู้คือ การดึงเอาความรู้ฝังลึกหรือความรู้โดยนัย (Tacit Knowledge) ซึ่งเป็นความรู้ที่จับต้องได้ยาก แลกเปลี่ยนได้ยาก ในบางครั้งแม้เจ้าตัวเองก็ยังไม่รู้ว่าตนมีความรู้นั้น ๆ ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญามีอยู่จำนวนมากที่ฝังอยู่หรือซ่อนเร้นอยู่ในตัวบุคคล
1. การจัดตั้งทีมข้ามสายงาน (Cross – Functional Team)
     เป็นการจัดตั้งทีมเพื่อทำงานร่วมกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่กำหนดขึ้นภายใต้ความเชื่อที่ว่าการทำงานในแต่ละเรื่องต้องอาศัยผู้มีความรู้หรือผู้เชี่ยวชาญจากหลาย ๆ ด้านมาแลกเปลี่ยนความรู้กัน

2. ระบบพี่เลี้ยง (Mentoring System)
     ระบบพี่เลี้ยงเป็นวิธีการในการถ่ายทอดความรู้ฝังลึกหรือความรู้ซ่อนเร้น (Tacit Knowledge ) แบบตัวต่อตัวจากผู้มีความรู้และประสบการณ์มากกว่าไปยังบุคลากรรุ่นใหม่หรือผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์น้อยกว่า
3. การสับเปลี่ยนงาน (Job Rotation) และการยืมตัวบุคลากรมาช่วยงาน (Secondment)
     การสับเปลี่ยนงานเป็นการย้ายบุคลากรไปทำงานในหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งอาจอยู่ภายในสายงานเดียว หรือข้ามสายงานเป็นระยะ ๆ เป็นวิธีการที่มีประสิทธิผลในการกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ของทั้ง 2 ฝ่าย
4. เวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Forum)
     การจัดประชุมหรือการกิจกรรมอย่างเป็นกิจจะลักษณะอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นพื้นที่ให้บุคลากรในองค์กรมีโอกาสพบปะพูดคุยกัน

5. การระดมสมอง (Brainstorming)
     การระดมสมองเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพ ที่มีกระบวนการเพื่อรวบรวมความเห็น ปัญหาหรือข้อเสนอแนะจำนวนมากในเวลาที่รวดเร็ว เป็นวิธีการในการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และเกิดการมีส่วนร่วมของกลุ่มมากที่สุด

6. แผนที่ความคิดหรือแผนที่ความรู้ (Mind Maping)
     แผนที่ความคิดหรือแผนที่ความรู้ (Mind Maping) เป็นวิธีการบันทึกความคิดเพื่อให้เห็นภาพของความคิดที่หลากหลายมุมมองที่กว้างและชัดเจน เป็นการเขียนตามความคิดที่เกิดขึ้นขณะนั้น การเขียนมีลักษณะเหมือนต้นไม้ แตกกิ่งก้านสาขาออกไปเรื่อย ๆ

7. เพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Assist)
     เพื่อนช่วยเพื่อน เป็นเทคนิคของการจัดการความรู้อย่างหนึ่ง เป็นเทคนิคเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก่อนเริ่มทำงาน (learn before) โดยการสร้างให้เกิดกลไกการเรียนรู้ประสบการณ์จากผู้อื่น ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมอุดมการณ์หรือร่วมวิชาชีพ

8. การวิเคราะห์หลังการปฏิบัติ (After Action Review : AAR)
     การวิเคราะห์หลังการปฏิบัติ หรือการเรียนรู้ระหว่างทำงาน (After Action Review : AAR) จัดเป็นเครื่องมือที่เชื่อในแนวคิด "ตีเหล็กที่กำลังร้อน " และถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้ทีมงานและสมาชิกได้เรียนรู้ในระหว่างกระบวนการทำงาน และสามารถทำได้ทันทีหลังจากเหตุการณ์

9. การค้นหาสิ่งดี ๆ รอบตัว (Appreciative Inquiry : AI)
     เป็นเครื่องมือสำหรับการบริหารแนวใหม่ที่เป็นวิธีการเชิงบวก เป็นกระบวนการค้นหาส่วนที่ดีที่สุดในบุคคล องค์กร ชุมชนท้องถิ่น และสังคม และเปิดช่องให้ส่วนที่ดีเหล่านั้นออกมาแสดงพลังเชิงบวก

10. การเสวนา (Dialogue)
     คำว่า dialogue ในภาษาไทย มีผู้นำมาใช้แตกต่างกันไป อาทิ เสวนา สุนทรียสนทนาสนทนาแลกเปลี่ยน สนทนาวิสาสะ วาทวิจารณ์ เป็นต้น ในที่นี้ขอเลือกใช้คำว่า "เสวนา" เนื่องจากข้อความกระชับและสื่อความเข้าใจได้ง่าย การเสวนากำลังได้รับ ความสนใจ และมีแนวโน้มถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวาง ในทุกวงการ

11. การเล่าเรื่อง (Story telling)
     เป็นเครื่องมือดึงความรู้จากการปฏิบัติ หรือเป็นวิธีแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึก ซึ่งผูกพันอยู่กับประสบการณ์ หรือการปฏิบัติที่ดีที่สุด คือทำให้ดูหรือฝึกหัดทำด้วยกัน วิธีการนี้เหมาะกับความรู้ที่เป็นทักษะด้านการลงมือทำ

12. ชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Community of Practice : CoP)
     Community of Practice หรือเรียกย่อ ๆ ว่า CoP มีชื่อเรียกในภาษาไทยหลากหลาย เช่น ชุมชนนักปฏิบัติ ชุมชนแนวปฏิบัติ และชุมชนแห่งการเรียนรู้ เป็นต้น ซึ่งเป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในการจัดการความรู้ และการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้


สรุป

     องค์กรแห่งการเรียนรู้ คือ การเรียนรู้เพื่อให้มีการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร ชุมชนท้องถิ่น และสังคมนั้น จำเป็นต้องมีการใช้เครื่องมือในการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เครื่องมือและเทคนิคในการจัดการความรู้ เป็นเครื่องมือในการจัดกระบวนการ หรือจัดปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนเป็นหลักในการดำเนินการจัดการความรู้นั้น การนำเครื่องมือและเทคนิควิธีการมาใช้นั้น ควรพิจารณาให้เหมาะสมกับบริบทขององค์กร ชุมชนท้องถิ่น หรือเครือข่ายของตนเอง


ที่มา
http://natres.psu.ac.th/Journal/Learn_Organ/index.htm
https://www.gotoknow.org/posts/582857









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับความรู้

ความหมายของความรู้ อิคูจิโร โนนากะ KMB ⇒ได้ให้คำจำกัดความของความรู้หมายถึง สารสนเทศที่ผ่านกระบวนการคิด เปรียบเทียบ เชื่อม...