แนวคิดการจัดการความรู้ (Knowledge Management)
ความหมายของการจัดการความรู้
การจัดการความรู้ เป็นกระบวนการที่ช่วยรวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห์และกำหนดประเด็น รวมไปถึง การเผยแพร่องค์ความรู้ที่มีประโยชน์และมีความจำเป็นต่อการพัฒนาและความเจริญก้าวหน้าขององค์กร
การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล หรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ
🔼 1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็น ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
🔼 2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็น ความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
➤ที่เรียกย่อๆ ว่า KM คือ เครื่องมือ เพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 3 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ บรรลุเป้าหมายของงาน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ดัง นั้นการจัดการความรู้จึงไม่ใช่เป้าหมายในตัวของมันเอง เมื่อไรก็ตามที่มีการเข้าใจผิด เอาการจัดการความรู้เป็นเป้าหมาย ความผิดพลาดก็เริ่มเดินเข้ามา อันตรายที่จะเกิดตามมาคือ การจัดการความรู้เทียม หรือ ปลอม เป็นการดำเนินการเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่ามีการจัดการความรู้เท่านั้นเอง
➤หลักการจัดการความรู้( Knowledge Management -KM) คือ การนำเอาความรู้มาจัดเก็บอย่างเป็นระบบ สามารถนำมาเผยแพร่หรือนำกลับมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาองค์การให้มีความเจริญก้าวหน้า
การจัดการความรู้มีมานานแล้วแต่ไม่ค่อยได้นำมาเผยแพร่ หรือนำมาใช้ในการพัฒนาองค์การอย่างจริงจัง จนกระทั่งมาในปัจจุบันได้มีการนำเอาการจัดการความรู้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ การประเมินความสำเร็จขององค์การ จึงได้มีการส่งเสริมให้ทำ KM กันอย่างแพร่หลาย
ปัจจัยความอยู่รอดขององค์การ
- ประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากร
- นวัตกรรมที่นำมาช่วยในการทำงาน
- ความสัมพันธ์ที่ดีของบุคลากร
- ความรวดเร็วในการทำงานและค่าใช้จ่ายในองค์การ
- ผู้นำองค์การ
ผู้นำองค์การ มีรูปแบบของการทำงานที่ไม่เหมือนกัน แต่องค์ประกอบที่ผู้นำต้องมี คือ วิสัยทัศน์ ความมุ่งมั่นที่จะนำพาองค์การไปสู่เป้าหมาย และความสามารถในการเรียนรู้และการพัฒนาองค์การให้ก้าวหน้า ประเภทของความรู้ มี 2 อย่าง คือ
1. ความรู้แบบชัดแจ้ง ( Explicit Knowledge ) คือ ความรู้ที่เห็นได้ชัดเจนเป็นรูปธรรม เป็นความรู้ที่ได้มาจากการเรียนในห้องเรียน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ความรู้ที่อยู่ในตำรา เช่น พวกหลักวิชา หรือทฤษฎีทั้งหลายอันได้จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ผ่านกระบวนการพิสูจน์ กระบวนการวิจัย จึง เรียกว่า ความรู้ชัดแจ้ง
2. ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge ) คือ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ชัด เป็น ความรู้ที่เกิดจากการฝึกฝน การปฏิบัติงานจนเกิดทักษะและ กลายเป็นความชำนาญ เชี่ยวชาญ จึงเป็นประสบการณ์ติดตัวของแต่ละบุคคล เป็นความรู้ที่เกิดจากวิจารณญาณ ปฏิภาณไหวพริบ เป็นเทคนิคเฉพาะตัวบุคคล
สรุปการจัดการความรู้
การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล หรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ
🔼 1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็น ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
🔼 2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็น ความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
➤ที่เรียกย่อๆ ว่า KM คือ เครื่องมือ เพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 3 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ บรรลุเป้าหมายของงาน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ดัง นั้นการจัดการความรู้จึงไม่ใช่เป้าหมายในตัวของมันเอง เมื่อไรก็ตามที่มีการเข้าใจผิด เอาการจัดการความรู้เป็นเป้าหมาย ความผิดพลาดก็เริ่มเดินเข้ามา อันตรายที่จะเกิดตามมาคือ การจัดการความรู้เทียม หรือ ปลอม เป็นการดำเนินการเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่ามีการจัดการความรู้เท่านั้นเอง
➤หลักการจัดการความรู้( Knowledge Management -KM) คือ การนำเอาความรู้มาจัดเก็บอย่างเป็นระบบ สามารถนำมาเผยแพร่หรือนำกลับมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาองค์การให้มีความเจริญก้าวหน้า
การจัดการความรู้มีมานานแล้วแต่ไม่ค่อยได้นำมาเผยแพร่ หรือนำมาใช้ในการพัฒนาองค์การอย่างจริงจัง จนกระทั่งมาในปัจจุบันได้มีการนำเอาการจัดการความรู้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ การประเมินความสำเร็จขององค์การ จึงได้มีการส่งเสริมให้ทำ KM กันอย่างแพร่หลาย
ปัจจัยความอยู่รอดขององค์การ
- ประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากร
- นวัตกรรมที่นำมาช่วยในการทำงาน
- ความสัมพันธ์ที่ดีของบุคลากร
- ความรวดเร็วในการทำงานและค่าใช้จ่ายในองค์การ
- ผู้นำองค์การ
ผู้นำองค์การ มีรูปแบบของการทำงานที่ไม่เหมือนกัน แต่องค์ประกอบที่ผู้นำต้องมี คือ วิสัยทัศน์ ความมุ่งมั่นที่จะนำพาองค์การไปสู่เป้าหมาย และความสามารถในการเรียนรู้และการพัฒนาองค์การให้ก้าวหน้า ประเภทของความรู้ มี 2 อย่าง คือ
1. ความรู้แบบชัดแจ้ง ( Explicit Knowledge ) คือ ความรู้ที่เห็นได้ชัดเจนเป็นรูปธรรม เป็นความรู้ที่ได้มาจากการเรียนในห้องเรียน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ความรู้ที่อยู่ในตำรา เช่น พวกหลักวิชา หรือทฤษฎีทั้งหลายอันได้จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ผ่านกระบวนการพิสูจน์ กระบวนการวิจัย จึง เรียกว่า ความรู้ชัดแจ้ง
2. ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge ) คือ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ชัด เป็น ความรู้ที่เกิดจากการฝึกฝน การปฏิบัติงานจนเกิดทักษะและ กลายเป็นความชำนาญ เชี่ยวชาญ จึงเป็นประสบการณ์ติดตัวของแต่ละบุคคล เป็นความรู้ที่เกิดจากวิจารณญาณ ปฏิภาณไหวพริบ เป็นเทคนิคเฉพาะตัวบุคคล
สรุปการจัดการความรู้
การจัดการความรู้มีมานานแล้วแต่ไม่ค่อยได้นำมาเผยแพร่หรือนำมาใช้ในการพัฒนาองค์การอย่างจริงจังจนกระทั่งมาในปัจจุบันได้มีการนำเอาการจัดการความรู้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินความสำเร็จขององค์การ จึงได้มีการส่งเสริมให้ทำ KM
กัน ระบบในการค้นหา และใช้ความรู้ กระบวนการที่ว่านี้ คือ
“การจัดการความรู้”เป็นการรวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห์และกำหนดประเด็นต่างๆแล้วเผยแพร่ความรู้ต่อไป
เพื่อความเจริญก้าวหน้าขององค์กร เป้าหมายหลัก คือการ การใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ที่ได้มีการรวบรวม
จัดเก็บ วิเคราะห์และกำหนดประเด็น รวมไปถึงการเผยแพร่องค์ความรู้ ความรู้มี 4
ระดับ เพื่อการพัฒนาองค์กรไม่ว่าจะเป็น รู้ว่าคืออะไร มีวิธีใช้อย่างไร รู้เหตุผล
ใส่ใจเหตุผล เพื่อให้มีเป้าหมายไปสู่ความสำเร็จ ความเจริญก้าวหน้าขององค์กรซึ่งจะส่งผลให้องค์กรสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายที่ได้วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลความรู้นั้นอาจมาจากองค์ความรู้ที่เป็นลายลักษณ์อักษรเช่น หนังสือ ตำรา เป็นต้น รวมถึงองค์ความรู้ที่มาจากตัวบุคคล
ที่มา
http://kmi.or.th
http://kmlibrary.bu.ac.th/index.php
โมเดลเซกิ (SECI Model) ของ (Nonaka และ Takeuchi)
ส่วนความสำคัญของความรู้ Nonaka and Takeuchi (1995) ได้อธิบายถึงหลักสำคัญของการสร้างความรู้ในหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ว่า คือ กาiสังเคราะห์ หรือหลอมรวมความรู้ที่ชัดแจ้ง กับความรู้ที่ฝังลึกยกระดับขึ้นไปเป็นความรู้ที่สูงขึ้น โดยผ่านกระบวนการ4 ส่วนที่เรียกว่า“เซกิ” (SECI) ซึ่งได้แก่
ตัวอย่างโมเดลเซกิ
ที่มา. จาก เวทีนวัตกรรม (Innovative Forum) ครั้งที่ 3 Part II: การจัดการความรู้…เครื่องมือสู่ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์, โดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, 2550, ค้นเมื่อ 3 เมษายน 2552,
1. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (socialization) ระหว่างกัน เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงความรู้ที่ไม่ชัดแจ้ง (tacit knowledge) ผ่านการแบ่งปันประสบการณ์ ซึ่งได้จากการสังเกต การลอกเลียนแบบ หรือการลงมือปฏิบัติ คือ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ข้อคิดเห็น ความเชื่อ วิธีการ ฯลฯ ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ที่ไม่ ชัดแจ้ง ระหว่างบุคคลผู้สนใจแบบตัวต่อตัว
1. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (socialization) ระหว่างกัน เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงความรู้ที่ไม่ชัดแจ้ง (tacit knowledge) ผ่านการแบ่งปันประสบการณ์ ซึ่งได้จากการสังเกต การลอกเลียนแบบ หรือการลงมือปฏิบัติ คือ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ข้อคิดเห็น ความเชื่อ วิธีการ ฯลฯ ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ที่ไม่ ชัดแจ้ง ระหว่างบุคคลผู้สนใจแบบตัวต่อตัว
2. การสกัดความรู้จากตัวคน (externalization) เป็นกระบวนการที่ความรู้ที่ไม่ชัดแจ้ง ถูกทำให้ชัดเจน โดยการเปรียบเทียบใช้ตัวอย่าง หรือตั้งสมมติฐานจนความรู้ที่ไม่ชัดแจ้ง เปลี่ยนแปลงเป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง (explicit knowledge) คือ การแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึกในตัวบุคคล ไปเป็นความรู้ที่ผู้อื่นเข้าถึงได้ ซึ่งอาจทำโดยผ่านการสนทนากลุ่ม จับกลุ่มคุยเพื่อหาความคิดใหม่ ๆ เป็นการแลกเปลี่ยนเป็นกลุ่ม
3. การผนวกความรู้ (combination) เป็นกระบวนการที่ความรู้ที่ชัดแจ้ง ถูกทำให้เป็นระบบจนกลายเป็นความรู้ คือ การนำความรู้ที่ชัดแจ้งอันมากมายหลากหลายมารวบรวมบันทึก ซึ่งจะถูกจัดเป็นหมวดหมู่ของความรู้ที่ชัดเจน ที่ยกระดับเพิ่มมากขึ้น ความรู้ในชั้นนี้จะอยู่ในรูปแบบที่เผยแพร่ได้กว้างขวาง
4. การผนึกความรู้ในตน (internalization) เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ที่ชัดแจ้ง เป็นความรู้ที่ไม่ชัดแจ้ง ซึ่งเป็นทักษะที่ฝังอยู่ในตัวบุคคลนั้น ๆ อีกครั้ง คือ การนำความรู้ที่ได้อ่าน หรือความรู้ที่มีคนสอนไปลองปฏิบัติให้เกิดความเชี่ยวชาญเป็น “รู้จริง” ประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ กระบวนการ วิธีการใหม่ หรือปรับปรุงของเก่าให้เกิดคุณค่า และในกระบวนการนั้นเอง ก็เกิดการเรียนรู้เป็นความรู้ฝังลึกที่ยกระดับขึ้นไปในตัวบุคคล
➤องค์ประกอบที่สำคัญประการต่อมาของกระบวนการในการสร้างความรู้ขององค์กร ก็คือ การสนทนา (dialogue) เพื่อสร้างสรรค์ความรู้ ด้วยตรรกวิทยา (dialectic) หรือการโต้แย้งกันด้วยเหตุผล ด้วยการชี้แจงความเห็นของตนเอง และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ซึ่งเป็นกระบวนการของการเสริมซึ่งกันและกัน เพื่อให้ได้มาซึ่ง การยกระดับของความรู้ โดยอาจกล่าวได้ว่า ความรู้นั้นจะเป็นความรู้ที่ได้จากการวิพากษ์เพื่อสร้างสรรค์ นั่นเอง (Nonaka & Takeuchi, 1995)
➤องค์ประกอบสุดท้ายของกระบวนการในการสร้างความรู้ขององค์กร คือ การปฏิบัติ (practice) ซึ่งมีความสำคัญมาก เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้โดยการลงมือทำ การปฏิบัตินั้นไม่ใช่เพียงลงมือทำ แต่จะต้องคิดถึงความหมายที่แท้จริงของการกระทำและผลของการกระทำนั้น และลงมือปฏิบัติจนกลายเป็นกิจวัตร (Nonaka & Takeuchi, 1995
➤สรุป
สารสนเทศที่ผ่านกระบวนการที่มีการสังเคราะห์จากความรู้ที่ชัดแจ้ง และความรู้ที่ไม่ชัดแจ้งของมนุษย์ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการคิด ตัดสินใจ และดำเนินการต่าง ๆ ตามลำดับขั้นของความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่มา
http://kmi.or.th
http://kmlibrary.bu.ac.th/index.php
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น