ความหมายของความรู้
อิคูจิโร โนนากะ KMB
⇒ได้ให้คำจำกัดความของความรู้หมายถึง สารสนเทศที่ผ่านกระบวนการคิด เปรียบเทียบ เชื่อมโยงกับความรู้อื่นจนเกิดเป็นความเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์ในการสรุปและตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆได้โดยไม่จำกัดช่วงเวลา หรือกล่าวได้ว่าเป็นสารสนเทศที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในการนำไปใช้งาน
ฮิเดโอะ ยามาซากิ (Hedeo Yamazak)
⇒ได้แสดงว่ามิติความรู้ โดยเริ่มจากฐานล่าง คือ ข้อมูล สังเคราะห์จนได้สารสนเทศคิดเปรียบเทียบ เชื่อมโยงจนได้ ความรู้ จนเกิดความเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์ในการสรุปและตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ โดยไม่จำกัดช่วงเวลา
Daveport&Prusk.
⇒กล่าวว่า ความรู้หมายถึง กรอบของการประสมประสานระหว่างประสบการณ์ ค่านิยม ความรอบรู้ในบริบท และความรู้แจ้งอย่างช่ำชอง เป็นการประสมประสานทีให้กรอบสำหรับการประเมินค่า และการนำเอาประสบการณ์กับสารสนเทศใหม่ๆ มาผสมรวมเข้าด้วยกัน มันเกิดขึ้นและถูกนำไปใช้ประยุกต์ในใจของคนที่รู้ สำหรับในแง่องค์กรนั้น ความรู้มักจะสั่งสมอยู่ในรูปของเอกสาร หรือแฟ้มเก็บเอกสารต่างๆ รวมไปถึงขั้นสั่งสมอยู่ในการทำงาน อยู่ในกระบวนการ อยู่ในการปฏิบัติงาน และอยู่ในบรรทัดฐานขององค์กรนั้นเอง
Peter Senge
⇒ได้เสนอแนวความคิดของการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ด้วยกรอบความรู้ 5 สาขา วิชาการ ที่เรียกว่า The five disciplines ซึ่งจะเป็นแนวทางหลักในการสร้างองค์การการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น The five disciplines หรือแนวทางสำคัญ 5 ประการที่จะผลักดันและสนับสนุนให้เกิดองค์การแห่งการเรียนรู้ขึ้นประกอบด้วย
1. การเรียนรู้ของสมาชิกในองค์กร (Personal Mastery)
2. ความมีสติ (Mental Model)
3. การมีวิสัยทัศน์ร่วมกันของคนในองค์การ (Shared Vision)
4. การเรียนรู้เป็นทีม ( Team Learning )
5. ระบบการคิดของคนในองค์การ (Systems Thinking)
ปีเตอร์ เอฟ ดรักเกอร์
⇒เป็นนักคิดที่บุกเบิกแนวคิดด้านการบริหารจัดการขององค์กรธุรกิจสมัยใหม่ แต่แนวคิดที่เป็นจุดเด่นของดรักเกอร์คือความพยายามที่จะเข้าใจความซับซ้อนต่างๆ ของสังคม และพยายามถอดสรุปสิ่งที่เข้าใจออกมาเป็นแนวคิดที่ได้มาจากประสบการณ์ด้านการปฏิบัติ
นพ ประเวช วะสี
⇒ท่านได้เสนอแนวคิดว่าความรู้ที่จำเป็นมี 4 ประเภทใหญ่ ๆ เรียกว่าปัญญา 4 หรือ จตุรปัญญา คือ ความรู้ธรรมชาติที่ เป็นวัตถุ ( วิทยาศาสตร์กายภาพ ) ความรู้ทางสังคม ( วิทยาศาสตร์สังคม ) ความรู้ทางศาสนา ( วิทยาศาสตร์ข้างใน ) และความรู้เรื่องการจัดการซึ่งปัญญาที่เกิดจากความรู้ชนิดใดชนิดหนึ่ง
วิจารณ์พานิช
⇒ให้ความหมายว่าการจัดการความรู้ หมายถึง การยกระดับความรู้ขององค์กร เพื่อสร้างผลประโยชน์จากต้นทุนทางปัญญา โดยเป็นกิจกรรมที่ซับซ้อนและกว้างขวาง การจัดการความรู้เป็นการเรียนรู้แบบใหม่ที่เรียนจากการปฏิบัติเป็นตัวนำ เป็นตัวเดินเรื่องไม่ใช่แค่เรียนจากครู หรือตำรา ตำรานั้นเป็นการเรียนรู้แบบเก่า ซึ่งเน้นทฤษฎี ขณะที่การเรียนรู้แบบการจัดการความรู้ก็เป็นทฤษฎี แต่ว่าเน้นที่การเรียนรู้แบบปฏิบัติ การจัดการความรู้ไม่ใช่เรื่องของคนๆ เดียว เป็นเรื่องของคนหลายคนที่ทำงานร่วมกัน เวลาปฏิบัติแต่ละคนจะมีประสบการณ์ไม่เหมือนกัน เมื่อนำมาแลกเปลี่ยนกัน อาจเห็นส่วนที่เหมือนกัน ซึ่งจะเป็นการยืนยันที่ตรงกัน เมื่อมีการแลกเปลี่ยนประสบการณกันมากๆ จะทำให้ยกระดับความรู้ ความเข้าใจขึ้นไปอีก
ประพนธ์ ผาสุขยืด
⇒วิธีการเรียนรู้ที่ได้ผลนั้นมีระดับความสำเร็จเรียงตามลำดับจากน้อยไปมาก ดังนี้คือ การเรียนในห้อง การอ่าน การฟัง การสาธิต การหารือภายในกลุ่ม การเรียนจากการปฏิบัติ และที่ได้ผลมากที่สุดคือ การสอนผู้อื่น ซึ่งจะเห็นว่าระดับความสำเร็จในกลุ่มสูงนี้จะเป็นการเรียนรู้แบบกลุ่ม มากกว่าเรียนรู้แบบปัจเจกเฉพาะตน
สรุปความหมายของความรู้
⇒ความรู้ คือสิ่งที่ได้มาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้าหรือมาจากประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถในเชิงปฏิบัติและทักษะ ความเข้าใจหรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ จากวิชาในแต่ละสาขา และสารสนเทศที่นำไปสู่การปฏิบัติ เป็นเนื้อหาข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยข้อเท็จจริง ความคิดเห็น หลักการ รูปแบบ กรอบความคิด หรือข้อมูลอื่นๆซึ่งอาจจะรวมไปถึงความสามารถในการนำสิ่งนั้นไปใช้เพื่อเป้าหมายที่ต้องการ